การ Set ค่าเบื้องต้นของ Temperature Controller ยี่ห้อ TOHO รุ่น TTM-004-R-A ซึ่งคุณสมบัติของ Temperature รุ่น TTM-004-R-A สามารถรับอินพุทประเภท Thermocouple, PT100 ได้ เอาท์พุทแบบ Relay มี Alarm ให้ 1 Alarm ระบบการ Control แบบ PID Control ซึ่งสามารถติดต่อสั่งซื้อได้ที่ บริษัท ไพรมัส จำกัด โทร 02-693-7005 หรือเข้าชม www.primusthai.com และ www.pm.co.th หรือ www.themtech.co.th หรือติดต่อผ่าน e-mail: info@primusthai.com, porame_th@hotmail.com
บริษัท ไพรมัส จำกัด (Primus Co., Ltd.) เป็นผู้ผลิต นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าด้านไฟฟ้าอุตสาหกรรม ประเภทเครื่องมือวัดด้านอุตสาหกรรม
วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555
Kiln Controller : สินค้า
MVS-DN ยี่ห้อ OPTEX MVS-DN : The MVS-D Multi camera vision sensor is a color vision sensor and is used for
Specification
System configuration
Dimensions
Accessories
I/O Pin assignment
วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555
CMP-72T : สินค้า
CMP-72T: Digital Preset Counter เครื่องรับจำนวนแบบดิจิตอล Digital Preset Counter : เป็นเครื่องนับจำนวนที่มีให้เลือกหลายแบบ CMP-48 เป็น Counter แสดงผลแบบ 4 หลัก CMP-72 เป็น Counter แสดงผลแบบ 6 หลัก และ CMP-72T เป็น Preset Counter แสดงผลแบบ 6 หลัก โดยมีแถวแวดงค่า Totalizwer แบบ 8 หลัก รวมอยู่ด้วย โดยที่ Totalizer จะทำงานตาม Cyclc และมี Switch สำหรับ Reset ค่าได้
###############
- แสดงผลด้วย 7 Segments สีแดงขนาด 1/2 นิ้ว มองเห็นได้ชัดเจนในระยะไกล
- รับอินพุทจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ เช่น Photo Switch, Proximity Switch, Encoder, NPN, PNP เป็นต้น
- มีให้เลือกใช้งานสูงสุดถึง 6 ลักษณะการทำงาน รวมทั้งการนับรวมผล
- มีหน่วยความจำ EEPROM สามารถเก็บบันทึกค่าการนับได้ในกรณีที่ไฟดับ
- สามารถตั้งค่าความไวในการนับได้
- มีขนาด 2 ขนาด (48x48 และ 72x72 mm.) ให้เลือกใช้
- ใช้งานง่ายโดยการปรแกรมผ่านหน้าจอ- โดยที่ CMP-48 เป็น Digital Counter แสดงผลแบบ 4 หลัก- โดยที่ CMP-72 เป็น Digital Counter แสดงผลแบบ 6 หลัก
- โดยที่ CMP-72T เป็น Preset Counter แสดงผลแบบ 6 หลัก โดยมีแถวแสดงค่า Totalizer แบบ 8 หลัก รวมอยู่ด้วย โดยที่ Totalizer จะทำตาม Cycle และมี Switch สำหรับ Reset ค่าได้
- มีเอาท์พุทเป็นรีเลย์คอนแทค (Relay Contact) 5A/250VAC- สามารถสื่อสารผ่านพอร์ท RS-485 ได้
###############
(*** พิเศษสุดสำหรับรุ่น CMP-Series มีเอาท์พุทสูงสุดได้มากถึง 3 Relay Contact)
สามารถติดต่อเราได้ที่ บริษัท ไพรมัส จำกัด www.primusthai.com, www.pm.co.th, www.themtech.co.th หรือ โทร 02-693-7005 โทรสาร 02-693-7005 ต่อ 135 หรือ เมล info@primusthai.com, porame_th@hotmail.com
วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
บูธแสดงผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน
การออกบูธแสดงผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน
เร็ว ๆ นี้ เตรียมพบกับเราการออกบูธแสดงผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน
ในงานอบรมทางวิชาการ
"ระบบการจัดการพลังงานมาตรฐาน ISO 50001"
โดย TECS ร่วมกับ โครงการมินิ-วิศวกรรม (MINI-ENG)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ไปเจอกับเราการออกบูธแสดงผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน
ในงานอบรมทางวิชาการ
"ระบบการจัดการพลังงานมาตรฐาน ISO 50001"
ได้ที่
15 กุมภาพันธ์ 2555 โรงแรม ที.เค. พาเลซ กรุงเทพฯ
30 มีนาคม 2555 โรงแรม ทาวน์ อิน ทาวน์ ชลบุรี
19 เมษายน 2555 โรงแรม Kantary Bay ระยอง
ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.
**ประกาศ** ท่านใดที่ต้องการเข้าร่วมอบรมทางวิชาการ
TIM-94 : สินค้า
TIM-94: Digital Indicator with Alarm/Configurable Indicator Alarm Unit:เครื่องแสดงผลแบบดิจิตอลแบบ 7 Segment จำนวน 4 หลัก รับอินพุทThermocouple/RTD/PT100/4-20mA/0-20mA/0-100mA/0-100mV/0-1V/0-10V
@@@@@@@@@@@@@@@@@@
- อินพุต เทอร์โมคัปเปิ้ล RTD (Pt100) และสัญญาณ mA , mV , V
- 3 อะลาร์ม รีเลย์
- แสดงค่าได้ตั้งแต่ -1999 ถึง 9999ใช้ง่าย
- เครื่องแสดงค่าพารามิเตอร์ จากแหล่งต่างๆ เช่น thermocouple,PT100 และสัญญาณanalogอื่นๆ
- สามารถบันทึกค่าที่วัดได้แล้วเรียกออกมาดูได้ตลอดเวลา
- ส่งสัญญาณ output เป็น analog สามารถนำไปพ่วงกับอุปกรณ์ต่างๆได้
- สามารถโปรแกรมจากตัวเครื่องได้เลยไม่ต้องไปต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์
- การวัดมีความแม่นยำสูง และมีความรวดเร็วในการวัดสูง
- การแสดงผลเป็นไฟแบบ LED ทำให้สามารถมองเห็นได้ง่ายแม้ในที่มืด
***สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-693-7005
www.primusthai.com
www.pm.co.th
www.themtech.co.th
mail: info@primusthai.com
วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555
Project Engineer
Project Engineer
ทางบริษัท ไพรมัส จำกัด มีความพร้อมและยินดี เป็นที่ปรึกษางานด้าน Project Engineer โดยทางเรามีทีมงานวิศวกรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงทางด้านนี้โดยตรง
ยกตัวอย่างงาน Project Engineer
- การประปาส่วนภูมิภาคกาญจนบุรี
งานควบคุมปั๊มสูบจ่ายน้ำของการประปาส่วนภูมิภาคกาญจนบุรี เป็นการควบคุม Inverter Danfross ผ่าน Modbus เพื่อควบคุมการ Start-Stop ของ Inverter และอ่านค่าพลังงานของ Inverter บันทึกค่าลงในตัว PLC เพื่อเก็บข้อมูลการใช้พลังงานและยังควบคุมการประหยัดพลังงานของมอเตอร์ด้วย
- ควบคุมระบบหล่อลื่นเครื่องจักรอัตโนมัติ
งานควบคุมระบบหล่อลื่นเครื่องจักรอัตโนมัติของโรงงาน กระดาษสั่งงานให้ป๊มทำงานแบบอัตโนมัติตามรอบการทำงานโดยควบคุมผ่านทาง PLC V280 มีการต่อสัญญาณอะนาล็อกจากเพรชเชอร์ทราดิวเซอร์เข้ามาเช็คเพื่อป้องกันไม่ ให้แรงดันใน ระบบสูงเกินไปแล้วควบคุมการเปลี่ยนไลน์ในการหล่อลื่นได้อีกด้วย
ติดต่อผู้เชี่ยวชาญ Project Engineer ได้ที่:
คุณสมนึก ช้างหัวหน้า Project Engineer
ติดต่อ Tel.089-567-5245
คุณสมนึก ช้างหัวหน้า Project Engineer
ติดต่อ Tel.089-567-5245
e-mail : nuk_pm@hotmail.com
เกียรติบัตร : มโครงการโรงงานสีขาว
บริษัท ไพรมัส จำกัด
มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติบัตรจาก
"กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน"
ซึ่งเป็นเกียรติบัตรเพื่อยืนยันว่า
บริษัท ไพรมัส จำกัด
มีระบบการจัดการด้านยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ
วิธีการสั่งซื้อ
ท่านสามารถเลือกสั่งซื้อสินค้าโดยวิธี ดังนี้ 1. สั่งซื้อโดยใช้ระบบสั่งชื้อของเว็บ โดยการคลิกที่ปุ่ม สั่งซื้้อ ตรงสินค้าที่ท่านต้องการ แล้วกรอกรายละเอียด ให้ครบถ้วนเพื่อสะดวกในการจัดส่ง 2. สั่งซื้อทางเว็บบอร์ด ให้ท่านกรอกรหัสสินค้าที่ต้องการ และรายละเอียดต่าง ๆ ตามข้อที่ 1 3. สั่งซื้อทาง อีเมลล์ โดยส่งรายละเอียดต่าง ๆ ตามข้อที่ 2 มายัง E-mail : porame_th@hotmail.com หรือinfo@primusthai.com 4. เมื่อทำรายการสั่งซื้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านลูกค้าสามารถโอนเงินเพื่อทำการชำระเงินได้ที่ ♦ โอนเงินผ่านธนาคาร หรือ ตู้ ATM บริษัท ไพรมัส จำกัด PRIMUS CO.,LTD ที่ตั้ง: 119 ซอยสีม่วงอนุสรณ์ ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 Address: 119 Soi Srimuang-Anusorn, Sutthisarnvinijchai Rd., Dindang Bangkok 10400 โทรศัพท์: 0-2693-7005 Tel: 0-2693-7005 โทรสาร: 0-2277-3565 Fax: 0-2277-3565 เลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษี: 3 0 1 1 2 2 6 7 7 3 อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ********** A/C NAME (ชื่อบัญชี): บริษัท ไพรมัส จำกัด ********** A/C No. (เลขที่บัญชี): 2 0 8 - 3 - 0 1 1 7 2 - 2 ********** BRACH (สาขา): ธนาคารกรุงเทพ สาขาบางกรวย (Bang Kualy) ********** ประเภทบัญชี: กระแสรายวัน (Current Account) ********** สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร: 02-693-7005 ติดต่อ คุณปรเมษฐ์ / คุณกัญญาณัฐ / คุณภัทรทิดา *** ทางร้านแนะนำให้สั่งสินค้าโดยใช้ระบบสั่งซื้อของเว็บนะค่ะ ซึ่งสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องที่สุดค่ะ *** หากไม่ได้รับการติดต่อจากทางร้าน หลังจากการสั่งซื้อ อาจเป็นเพราะระบบมีปัญหา รบกวนโทรมาแจ้ง หรือแจ้งในเว็บบอร์ด ได้เลยค่ะ เพื่อ confirm การสั่งซื้อ |
วิธีการชำระเงิน
♦ โอนเงินผ่านธนาคาร หรือ ตู้ ATM
ชื่อ: บริษัท ไพรมัส จำกัด
PRIMUS CO.,LTD
ที่ตั้ง: 119 ซอยสีม่วงอนุสรณ์ ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
Address: 119 Soi Srimuang-Anusorn, Sutthisarnvinijchai Rd., Dindang Bangkok 10400
โทรศัพท์: 0-2693-7005
Tel: 0-2693-7005
โทรสาร: 0-2277-3565
Fax: 0-2277-3565
เลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษี: 3 0 1 1 2 2 6 7 7 3 อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
********** A/C NAME (ชื่อบัญชี): บริษัท ไพรมัส จำกัด
********** A/C No. (เลขที่บัญชี): 2 0 8 - 3 - 0 1 1 7 2 - 2
********** BRACH (สาขา): บางกรวย (Bang Kualy)
********** ประเภทบัญชี: กระแสรายวัน (Current Account)
ธนาคาร | สาขา | บัญชี | เลขที่ |
กรุงเทพ | บางกรวย | กระแสรายวัน | 208-3-01172-2 |
********** สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร: 02-693-7005
ติดต่อ คุณปรเมษฐ์ / คุณกัญญาณัฐ / คุณภัทรทิดา
วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555
Photoelectric Sensor : สินค้า
Photoelectric Sensor
OPTEX MVS-Series: Photoelectric Sensor จากประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท ไพรมัส
จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่าย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ 02 - 693 -7005 หรือดูข้อมูลเพิ่ม
เติมได้ที่ >>>>>>>>>> www.primusthai.com >>>>>>>>>> www.pm.co.th
วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555
เพื่อหนทางข้างหน้า
เพื่อหนทางข้าง.....เรา จะต้องก้าวไป
จง... เข้มแข็งพอที่จะเผชิญหน้ากับควา มจริง
จง... อ่อนแอพอที่จะรับรู้ว่าลำพังเรา นั้นทำอะไรไม่ได้ทุกอย่าง
จง... ฉลาดพอที่จะรู้ว่าเราไม่ได้รู้ท ุกสิ่ง
จง...โง่พอที่จะ เชื่อในปาฏิหาริย์
จง...เต็มใจจะแบ่ง ปันความสุขของตัวเอง
จง...เต็มใจที่จะ แบ่งรับความทุกข์ของผู้อื่น
จง...เป็นคนแรกที่ แสดงความยินดีต่อความสำเร็จของคู่แข่ง
จง...เป็นคนสุดท้าย ที่จะวิจารณ์ความผิดพลาดของเพื่ อน
จง...มองไปยังจุด หมายป! ลายทางให้แน่ใจ ว่าไม่ได้กำลังเดินผิดทาง
จง...มองเพียงแค่ ก้าวถัดไปเพราะมันจะทำให้เราไม่ ล้ม
จง... รักคนที่รักคุณ
และจง... รักคนที่ไม่รักคุณแล้วสักวันหนึ่ง ...เค้าอาจจะเปลี่ยนใจ
จง... อ่อนแอพอที่จะรับรู้ว่าลำพังเรา
จง... ฉลาดพอที่จะรู้ว่าเราไม่ได้รู้ท
จง...โง่พอที่จะ เชื่อในปาฏิหาริย์
จง...เต็มใจจะแบ่ง ปันความสุขของตัวเอง
จง...เต็มใจที่จะ แบ่งรับความทุกข์ของผู้อื่น
จง...เป็นคนแรกที่ แสดงความยินดีต่อความสำเร็จของคู่แข่ง
จง...เป็นคนสุดท้าย ที่จะวิจารณ์ความผิดพลาดของเพื่
จง...มองไปยังจุด หมายป! ลายทางให้แน่ใจ ว่าไม่ได้กำลังเดินผิดทาง
จง...มองเพียงแค่ ก้าวถัดไปเพราะมันจะทำให้เราไม่
จง... รักคนที่รักคุณ
และจง... รักคนที่ไม่รักคุณแล้วสักวันหนึ่ง ...เค้าอาจจะเปลี่ยนใจ
KM-13 : สินค้า
KM-13 ยี่ห้อ PM 3 Phase Digital Volt-Amp- Hertz Meter True RMS with RS-485
มิเตอร์วัดค่าแรงดัน - ความถี่ ไฟฟ้ากระแสสลับ แบบดิจิตอล สามารถวัดค่าความถี่ได้ตั้งแต่ 45-55 Hz สามารถเลือกดูค่าในแต่ละ Line โดยการกดปุ่มด้านหน้า มี LED แสดงสถานะการทำงาน
KM-13 : 3 Phase Digital Volt-Amp- Hertz Meter True RMS with RS-485 : มิเตอร์วัดค่าแรงดัน - ความถี่ ไฟฟ้ากระแสสลับ แบบดิจิตอล สามารถวัดค่าความถี่ได้ตั้งแต่ 45-55 Hz สามารถเลือกดูค่าในแต่ละ Line โดยการกดปุ่มด้านหน้า มี LED แสดงสถานะการทำงาน(ยี่ห้อ PM)
คุณสมบัติ
- สามารถวัดค่าแรงดันไฟฟ้า ( V ), กระแสไฟฟ้า ( A ), ความถี่ ( Hz ), Volt Demand, Current Demand
- สำหรับวัดค่าแรงดัน – กระแส – ความถี่ ไฟฟ้า ระบบ 3 เฟส
- การวัดค่าแบบ True RMS มีความแม่นยำสูง
- สามารถวัดแรงดันไฟฟ้าได้สูงสุด 600VAC(V L-N ) และ (V L-L )
- สามารถวัดค่ากระแสได้สูงสุดได้ถึง 10000 A
- สามารถวัดค่าความถี่ได้ตั้งแต่ 45 ถึง 60 Hz
- สามารถดูค่าในแต่ละ Line ได้ จากหน้าจอ
- มี LED แสดงสถานะการทำงาน
- สามารถบันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์โดยผ่านพอร์ต RS-485
ข้อมูลทางเทคนิค
ไดอะแกรมการต่อ
ขนาดและรูปร่าง
การจัดส่งสินค้า
การจัดส่งสินค้า
วิธีการส่งสินค้า
ระยะเวลาในการรับ-ส่งสินค้า
|
วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555
การเกิดแรงดันไฟตก-ไฟเกิน
การเกิดแรงดันไฟตก-ไฟเกิน(Under-Over Voltage)

Surge Short Interruption
Blackout Noise
ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีการนำเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย, ระบบการสื่อสาร, การคมนาคม, ระบบสาธารณูปโภค, และอื่นๆ เข้ามามีบทบาทในประเทศไทย โดยเริ่มมีการแพร่ขยายเทคโนโลยีทันสมัยเหล่านี้ ไปตามกลุ่มชนเมืองต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน การใช้เทคโนโลยีต่างๆ นั้น มีความเกี่ยวข้องกับการนำระบบพลังงานทางด้านไฟฟ้ามาใช้ด้วย ซึ่งระบบไฟฟ้ามาตรฐานในประเทศไทยที่ใช้กันอยู่นั้นมีอยู่ 2 ระบบด้วยกัน คือ
1. ระบบไฟฟ้าแบบ 1 Phase/220Volt/ 50Hz (Volt-Phase: L-N) ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นระบบไฟฟ้าที่ใช้กับอาคารขนาดเล็ก, บ้านพักอาศัย, หรือหน่วยงานย่อยภายในอาคารต่างๆ เป็นต้น
2. ระบบไฟฟ้าแบบ 3 Phase/ 380Volt/ 50Hz (Volt-Line: L-L) ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นระบบไฟฟ้าที่ใช้กับอาคารขนาดใหญ่ หรือตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ดังนั้น เราจะสามารถเห็นได้ว่า กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมได้มีการนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีมี่ทันสมัยมาใช้ ซึ่งส่งผลให้มีความไวในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การใช้ระบบ PLC (Programmable Logic Controller) เพื่อควบคุมเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม, การใช้ Relay บางชนิด เป็นต้น ดังนั้น การขยายตัวของเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยดังกล่าวนี้ จะส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าเป็นอย่างมาก ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นได้แก่ การเกิดปัญหาแรงดันเกิน (Over Voltage), แรงดันตก (Under Voltage), ไฟกระชาก (Surge), ไฟเกินชั่วขณะ (Over Shoot), สัญญาณรับกวน (Noise), ไฟตกชั่วขณะ(Voltage Sage), ไฟกระพริบ (Short Interruption), ไฟดับ (Blackout), ฮาร์มอนิกส์ (Harmonic), การเปลี่ยนแปลงความถี่กำลังไฟฟ้า (Power Frequency Variation), เกิดจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่าเป็นต้น, เกิดจากสภาวะความบกพร่อง (Fault) ทางไฟฟ้าในระบบสายส่ง และระบบจำหน่ายทางการไฟฟ้า, การสวิทตชิ่งของอุปกรณ์ภายในระบบ และอื่นๆ
การเกิดแรงดันเกิน (Over Voltage): คือค่าแรงดัน RMS ที่มีขนาดเพิ่มขึ้น ระหว่าง 1.1-1.2 pu. ในช่วงเวลานานกว่า 1 min มีสาเหตุเกิดขึ้นจากการอยู่ใกล้แหล่งจ่ายไฟฟ้า มีการปลดโหลดขนาดใหญ่ออกจากระบบ หรอการปรับแทปหม้อแปลงไม่เหมาะสมกับระบบ ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากแรงดันเกิน
การเกิดแรงดันตก (Under Voltage): คือค่าแรงดัน RMS ที่มีขนาดลดลงระหว่าง 0.8-0.9 pu. ในช่วงเวลานานกว่า 1 min มีสาเหตุเกิดขึ้นจากความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีมากขึ้น หรืออยู่ช่วงปลายของแหล่งจ่ายไฟฟ้า มีการสวิตชิ่งโหลดขนาดใหญ่เข้าระบบ หรือมีการปลดค่าปาซิเตอร์ออกจากระบบ มีผลทำให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากระบบเกิดการรับภาระโหลดเกินไป
การเกิดฮาร์มอนิกส์ (Harmonic): คือส่วนประกอบในรูปของสัญญาณคลื่นไซน์ (Sine Wave) ของสัญญาณหรือปริมาณคาบใดๆ ซึ่งมีความถี่เป็นจำนวนเต็มเท่าของความถี่หลัก เมื่อผลของฮาร์มอนิกส์รวมกันกับสัญญาณความถี่หลักทั้งขนาด (Amplitude) และมุมเฟส (Phase Angle) ทำให้สัญญาณที่เกิดขึ้นมีขนาดเปลี่ยนไป และมีรูปสัญญาณเพี้ยน (Distortion) ไปจากสัญญาณคลื่นไซน์ เป็นผลจากการใช้อุปกรณ์ประเภทที่ไม่เป็นเชิงเส้น ทำให้อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้ามีการทำงานผิดพลาด และถ้ามีการขยายของฮาร์มอนิกส์ที่มีขนาดมากพอจะทำให้อุปกรณ์เกิดการชำรุดเสียหายได้
การเกิดไฟดับ (Blackout): คือแรงดัน RMS ที่มีค่าลดลง 0.0 pu ในช่วงเวลาเกินกว่า 1 min มีสาเหตุเกิดจากสภาวะความผิดปกติทางระบบไฟฟ้า ทำให้อุปกรณ์ป้องกันมีการตัดวงจรแหล่งจ่ายไฟออกจากระบบถาวร เป็นผลทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าหยุดการทำงาน
การเกิดไฟกระพริบ (Short Interruption): คือแรงดัน RMS ที่มีค่าลดลงต่ำกว่า 0.1 pu ในช่วงระหว่าง 10 ms- 1 min มีสาเหตุเกิดจากสภาวะความผิดปกติทางระบบไฟฟ้า ทำให้อุปกรณ์มีการตัดวงจรแหล่งจ่ายไฟฟ้าออก ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าหยุดการทำงาน
การเกิดไฟกระชาก (Surge): คือขนาดกระแสและแรงดันที่มีค่าความชันสูงมากที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดไม่มีความถี่เปลี่ยนแปลงกำหนดให้มีขั้วทิศทางเดียว มีสาเหตุอันเนื่องมาจากการเกิดฟ้าผ่า ซึ่งอาจเกิดได้โดยตรง หรือในบริเวณใกล้เคียง มีผลทำให้อุปกรณ์ภายในระบบได้รับความเสียหายจากแรงดันไฟฟ้าเกิน
และอื่นๆ
วิธีการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในระบบไฟฟ้า ภายในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Over-Under Voltage), อุปกรณ์ Surge Protection และอื่นๆ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวมีคุณสมบัติที่ช่วยป้องกันไม่เกิดความชำรุดเสียหาย อันเนื่องมาจากเกิดความผิดปกติขึ้นภายในระบบไฟฟ้า ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในระบบไฟฟ้า ได้แก่
อุปกรณ์ Under & Over voltage and Phase Monitor Relay (PM-017/PM-017N): เป็นอุปกรณ์สำหรับป้องกันไฟตก-ไฟเกิน ใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3/4 สาย สามารถเช็คลำดับเฟส (Phase Sequence) เพื่อป้องกันมอเตอร์หมุนกลับทิศทาง เช็คเฟสขาดหาย (Phase Breaking) ในเฟสใดเฟสหนึ่ง หรือมากกว่า 1 เฟส ถึงแม้ว่าจะมีไฟย้อนกลับจากมอเตอร์ (Back e.m.f) เนื่องจากมอเตอร์เดินตัวเปล่า มี LED สีเขียวแสดงสถานะการทำงานของรีเลย์ มีเอาท์พุทแบบรีเลย์ให้ลือก 1 และ 2 รีเลย์ ติดตั้งแบบ Socket
อุปกรณ์ Motor Protection Relay (PM-018): เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (Overload) โดยสามารถตั้งค่ากระแสได้ ป้องกันเฟสขาดหาย (Phase Breaking) เช็คลำดับเฟส (Phase Sequence) เพื่อป้องกันมอเตอร์หมุนกลับทิศทาง ป้องกันกระแสไม่สมดุลย์ (Phase Asymmetry) ในแต่ละเฟส เนื่องจากหน้าสัมผัสของคอนแทคแมคเนตริก เป็นออกไซด์ทำให้กระแสไหลไม่สะดวก ไม่ต้องต่อ CT (Current Transformer) จากภายนอก เพราะมี CT อยู่ในตัวสามารถร้อยสายผ่านอุปกรณ์ได้เลย มี LED แสดงสถานะการทำงานและแสดงสาเหตุเมื่อเกิดการทริปขึ้น ติดตั้งแบบ Socket
อุปกรณ์ Under & Over Voltage and Phase Breaking Relay with Neutral (PM-019/PM-019N): เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟตก-ไฟเกินในเฟสใดเฟสหนึ่ง หรือทั้ง 3 เฟส ป้องกันเฟสขาดหาย (Phase Breaking) สามารถตั้งค่าแรงดันไฟตก-ไฟเกิน ได้โดยใช้ปุ่มปรับ มี LED แสดงสถานะการทำงานของรีเลย์ ใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3/4 สาย ติดตั้งแบบ Socket
อุปกรณ์ Single Phase Under & Over Voltage and Current Relay (PM-029): เป็นอุปกรณ์ที่สามารถตรวจจับได้ทั้งแรงดันไฟตก-ไฟเกิน และกระแสเกินจากระบบไฟฟ้า 1 เฟส เหมาะสำหรับใช้ป้องกันการทำงานของโหลดมอเตอร์, คอมเพรสเซอร์, และอุปกรณ์อื่นๆ ที่อาจจะเสียหายอันเนื่องจากแรงดันไฟตก-ไฟเกิน และกระแสเกิน
อุปกรณ์ Under & Over Voltage and Phase Monitor Relay ติดตั้งแบบราง (PM-030): เป็นอุปกรณ์สำหรับป้องกันป้องกันไฟตก-ไฟเกิน ใช้กับระบบไฟ 3 เฟส 3/4 สาย สามารถเช็คลำดับเฟส(Phase Sequence) เพื่อป้องกันมอเตอร์หมุนกลับทิศทาง เช็คเฟสขาดหาย (Phase Breaking) ในเฟสใดเฟสหนึ่ง หรือมากกว่า 1 เฟส ถึงแม้ว่าจะมีไฟย้อนกลับจากมอเตอร์ (back e.m.f) เนื่องจากมอเตอร์เดินตัวเปล่า มี LED แสดงสถานะการทำงานของรีเลย์ มีเอาท์พุทแบบรีเลย์ 1 รีเลย์ ติดตั้งแบบ DIN RAIL
และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งในปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่จะเลือกอุปกรณ์ดังกล่าวเข้ามาใช้ เนื่องจากช่วยลดปัญหาการชำรุดเสียหายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซ่อม หรือจัดหาซื้ออุปกรณ์ใหม่ หากอุปกรณ์เก่าเกิดความชำรุดเสียหาย ดังนั้น การป้องกันไฟตก-ไฟเกิน หรือป้องกันความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในปัจจุบันนั้นมีความสำคัญอย่างมาก
ทางบริษัท ไพรมัส จำกัด ขอขอบคุณข้อมูลดังกล่าวจาก
สมัครงาน
ตำแหน่ง | อัตราที่รับ | วันที่ประกาศ |
2 | 09 September 2011 | |
1 | 09 September 2011 | |
1 | 13 May 2011 | |
20 | 21 March 2011 | |
3 | 01 February 2011 | |
2 | 01 February 2011 | |
1 | 01 February 2011 | |
15 | 21 July 2010 | |
1 | 16 July 2010 | |
15 | 16 July 2010 | |
1 | 31 March 2010 | |
15 | 05 June 2009 | |
15 | 05 June 2009 |
วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555
SCADA คืออะไร
ทำความรู้จักกับ SCADA
SCADA นั้นย่อมาจากคำว่า Supervisory Control And Data Acquisition เป็นระบบตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-time ใช้ในการตรวจสอบสถานะตลอดจนถึงควบคุมการทำงานของระบบควบคุมในอุตสาหกรรมและ งานวิศวกรรมต่าง ๆ เช่น งานด้านโทรคมนาคมสื่อสาร การประปา การบำบัดน้ำเสีย การจัดการด้านพลังงาน อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันและก็าซ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ การขนส่ง กระบวนการนิวเคลียร์ในโรงไฟฟ้าเป็นต้น ตัวอย่างการใช้งานเช่นใช้ SCADAตรวจสอบข้อมูลเช่นการรั่วไหลของของเหลวที่เกิดขึ้นในท่อขนส่งจากตัว ตรวจจับแล้วส่งสัญญาณแจ้งเตือนให้พนักงานทราบ โดยส่งข้อมูลสู่ส่วนกลางของระบบ SCADA เป็นต้น

รูปที่ 1-01 แสดงโครงสร้างแบบฮาร์ดแวร์ของระบบ SCADA
จากรูปที่ 1-01 นั้น Controller จะติดต่อกับอุปกรณ์ Field Instrument ต่าง ๆ เช่นเซ็นเซอร์ รีเลย์ เป็นต้นเพื่อนำสัญญาณมาให้กับ Data Server
ความสามารถในการจัดการกราฟิกเช่น การย่อ ขยาย การกำหนดการเคลื่อนไหวแบบต่าง ๆ เช่น การหมุน การเคลื่อนที่แบบซิกแซกตามสัญญาณของ Data Server การแสดงผลสัญญาณในรูปแบบมิเตอร์และเกจวัดแบบต่าง ๆ การนำเข้ากราฟิกประเภทต่างๆ การจัดแบ่งเลเยอร์ เป็นต้น เหล่านี้เป็นข้อเปรียบเทียบความสามารถของ SCADA Software ทั้งสิ้น
ระบบแสดงกราฟสัญญาณแบบต่อเนื่อง (Trending)
เป็นความสามารถที่ SCADA ทำหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่กำหนด เช่น ส่งอีเมล์ แสดงข้อความแบบ Instance Messageบนหน้าจอ เปิดไปยังหน้าจออื่น ๆ เก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล เปิดโปรแกรม หรือรันคำสั่งสคริปต์ เป็นต้น ตามสัญญาณที่ได้รับจาก Data Server และข้อกำหนดที่สร้างขึ้น
การสร้างและพัฒนา (Application Development)
SCADA คืออะไร???
SCADA นั้นย่อมาจากคำว่า Supervisory Control And Data Acquisition เป็นระบบตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-time ใช้ในการตรวจสอบสถานะตลอดจนถึงควบคุมการทำงานของระบบควบคุมในอุตสาหกรรมและ งานวิศวกรรมต่าง ๆ เช่น งานด้านโทรคมนาคมสื่อสาร การประปา การบำบัดน้ำเสีย การจัดการด้านพลังงาน อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันและก็าซ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ การขนส่ง กระบวนการนิวเคลียร์ในโรงไฟฟ้าเป็นต้น ตัวอย่างการใช้งานเช่นใช้ SCADAตรวจสอบข้อมูลเช่นการรั่วไหลของของเหลวที่เกิดขึ้นในท่อขนส่งจากตัว ตรวจจับแล้วส่งสัญญาณแจ้งเตือนให้พนักงานทราบ โดยส่งข้อมูลสู่ส่วนกลางของระบบ SCADA เป็นต้น
นอกจากนั้น SCADA อาจทำหน้าที่คำนวนและประมวลผลข้อมูลที่ได้จากฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เช่น PLC, Controller, DCS, RTU แล้วแสดงข้อมูลทางหน้าจอ หรือส่งสัญญาณควบคุมฮาร์ดแวร์ดังกล่าว เช่นหากอุณหภูมิของอุปกรณ์สูงเกินพิกัด ให้ทำการปิดอุปกรณ์นั้นเป็นต้น โดยสั่งงานผ่าน PLC หรือ Controller ที่ติดต่ออยู่ ทั้งนี้ SCADA สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากระบบควบคุมทั้งหมดไว้ในฐานข้อมูลเพื่อให้ พนักงานหรือโปรแกรมอื่น ๆ สามารถนำไปใช้งานได้ SCADA นั้นเข้าไปมีส่วนในงานควบคุมทั้งเล็กและใหญ่ที่ต้องการแสดงผล แลกเปลี่ยนข้อมูล หรือควบคุมระบบต่าง ๆ จากส่วนกลาง เพื่อการทำงานของระบบรวมที่สัมพันธ์กัน มองเห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจนและมีความรวดเร็วต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ระบบ SCADA ในปัจจุบันมีความสามารถในการสื่อสาร ควบคุม และประมวลผลข้อมูลจาก I/O ของอุปกรณ์เช่น PLC, DCS, RTU ได้ถึงระดับที่เกินหนึ่งแสน I/O แล้ว และได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถรองรับความต้องการใหม่ ๆ ของผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดมา
SCADA เริ่มใช้งานในคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ DOS, VMS และ UNIX จนมาถึงระบบปฏิบัติการ Windows NT, XP, Server 2003 และ LINUX
ในที่นี้จะแสดงลักษณะสำคัญของ SCADA ตามโครงสร้าง (Architecture) หน้าที่การทำงาน (Functionality) และ การพัฒนาโปรเจ็ค (Application Development) เพื่อให้คุณผู้อ่านได้เข้าใจส่วนสำคัญของ SCADA ได้อย่างละเอียด
โครงสร้างของ SCADA (Architecture)
SCADA เริ่มใช้งานในคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ DOS, VMS และ UNIX จนมาถึงระบบปฏิบัติการ Windows NT, XP, Server 2003 และ LINUX
ในที่นี้จะแสดงลักษณะสำคัญของ SCADA ตามโครงสร้าง (Architecture) หน้าที่การทำงาน (Functionality) และ การพัฒนาโปรเจ็ค (Application Development) เพื่อให้คุณผู้อ่านได้เข้าใจส่วนสำคัญของ SCADA ได้อย่างละเอียด
โครงสร้างของ SCADA (Architecture)
- โครงสร้างด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware Architecture)
SCADA แบ่งตามโครงสร้างฮาร์ดแวร์ได้สองระดับคือ Client และ Data Server หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Server โดยที่ Client คือคอมพิวเตอร์ที่รับและส่งข้อมูลไปยัง Data Server โดยฝั่ง Client นี้จะแสดงผลการทำงานของระบบควบคุมเช่น แสดงเป็นกราฟิก กราฟแบบต่อเนื่อง หรือระบบแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือต้องการแจ้งเตือน เป็นต้น ฝั่ง Client สามารถสั่งงานควบคุมไปยัง Data Server เพื่อส่งสัญญาณไปยัง PLC, DCS หรือ Controller อีกทอดหนึ่ง ส่วน Data Server จะทำหน้าที่ติดต่อกับ PLC, DCS, Controller หรือ RTU ต่าง ๆ เพื่อรับสัญญาณและส่งสัญญาณไปยัง Client และรับการร้องขอจาก Client เพื่อควบคุมอุปกรณ์ PLCและ Controller ต่าง ๆ Client และ Data Server ส่วนใหญ่ติดต่อกันผ่านระบบเครือข่าย Ethernet ดังรูปที่ 1-01
รูปที่ 1-01 แสดงโครงสร้างแบบฮาร์ดแวร์ของระบบ SCADA
จากรูปที่ 1-01 นั้น Controller จะติดต่อกับอุปกรณ์ Field Instrument ต่าง ๆ เช่นเซ็นเซอร์ รีเลย์ เป็นต้นเพื่อนำสัญญาณมาให้กับ Data Server
- โครงสร้างด้านซอร์ฟแวร์ (Software Architecture)
โครงสร้างด้านซอร์ฟแวร์ของระบบ SCADA นั้นมีข้อที่ต้องทราบคือ SCADA ใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารกับฮาร์แวร์ (เช่น PLC, DCS) ต่าง ๆ กันไปตามผู้ผลิต เช่นการใช้ Driver เฉพาะของผู้ผลิต SCADA เพื่อสื่อสารกับ PLC, DCS เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันมีการกำหนดมาตรฐานกลางคือ OPC ขึ้นมาเพื่อยุติปัญหาการใช้เทคโนโลยีเฉพาะด้านในการสื่อสาร นอกจากนั้นยังมีความสามารถในการบริการข้อมูลให้กับ Client ที่รวดเร็วและมีเสถียรภาพ
โครงสร้างด้านซอร์ฟแวร์ของ SCADA แสดงได้ดังรูปที่ 1-02
รูปที่ 1-02
จากรูป 1-02 จะพบว่าในส่วนของ SCADA Server นั้น การติดต่อกับ PLC หรือ Controller นั้น ทำได้ทั้งผ่าน Driver หรือ OPC โดยที่ OPC และ Driver สามารถรับคำสั่งแบบ Read / Write เพื่ออ่านข้อมูลจาก PLC หรือ เขียนข้อมูลเพื่อสั่งงานไปยัง PLC ได้
SCADA Server จะทำหน้าที่จัดการข้อมูล RTDB (Real Time Data Base) ที่ได้จาก PLC แล้วส่งให้กับ SCADA Client โดยที่ SCADA Server บางประเภทจะติดต่อกับ SCADA Client ผ่าน DDE Server ซึ่งทำให้สามารถนำเข้าข้อมูลจาก PLC เข้าสู่โปรแกรมเช่น MS Excel หรือ โปแกรม Client อื่น ๆ ที่ติดต่อกับ DDE Server ได้
SCADA บางตัวจะออกแบบให้ SCADA Server ทำหน้าที่ตรวจจับ Alarm และเก็บไว้ใน Alarm DB หรือเก็บข้อมูลที่เป็น Historian ไว้ใน Log DB เป็นต้นเพื่อส่งให้ Alarm Display และ Log Display ทางฝั่ง SCADA Client ต่อไป
สำหรับส่วน Development Environment นั้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบของ SCADA ซอร์ฟแวร์นั้น ๆ ซึ่งโดยทั่วไปก็จะมีเครื่องมือในการสร้างและจัดการกราฟิก (Graphic Editor) เครื่องมือในการจัดการโปรเจ็คที่สร้างขึ้นมา (Project Editor) มีเครื่องมือในการนำเข้าและส่งออก Text file ที่เก็บค่าคอนฟิกูเรชั่นของการติดต่อกับ Driver หรือ OPC Server ไว้
จากรูป 1-02 จะพบว่าในส่วนของ SCADA Server นั้น การติดต่อกับ PLC หรือ Controller นั้น ทำได้ทั้งผ่าน Driver หรือ OPC โดยที่ OPC และ Driver สามารถรับคำสั่งแบบ Read / Write เพื่ออ่านข้อมูลจาก PLC หรือ เขียนข้อมูลเพื่อสั่งงานไปยัง PLC ได้
SCADA Server จะทำหน้าที่จัดการข้อมูล RTDB (Real Time Data Base) ที่ได้จาก PLC แล้วส่งให้กับ SCADA Client โดยที่ SCADA Server บางประเภทจะติดต่อกับ SCADA Client ผ่าน DDE Server ซึ่งทำให้สามารถนำเข้าข้อมูลจาก PLC เข้าสู่โปรแกรมเช่น MS Excel หรือ โปแกรม Client อื่น ๆ ที่ติดต่อกับ DDE Server ได้
SCADA บางตัวจะออกแบบให้ SCADA Server ทำหน้าที่ตรวจจับ Alarm และเก็บไว้ใน Alarm DB หรือเก็บข้อมูลที่เป็น Historian ไว้ใน Log DB เป็นต้นเพื่อส่งให้ Alarm Display และ Log Display ทางฝั่ง SCADA Client ต่อไป
สำหรับส่วน Development Environment นั้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบของ SCADA ซอร์ฟแวร์นั้น ๆ ซึ่งโดยทั่วไปก็จะมีเครื่องมือในการสร้างและจัดการกราฟิก (Graphic Editor) เครื่องมือในการจัดการโปรเจ็คที่สร้างขึ้นมา (Project Editor) มีเครื่องมือในการนำเข้าและส่งออก Text file ที่เก็บค่าคอนฟิกูเรชั่นของการติดต่อกับ Driver หรือ OPC Server ไว้
โครงสร้างด้านการสื่อสาร (Communications)
การสื่อสารระหว่าง Client-Server จะสื่อสารผ่านโปรโตคอลโดยทั่วไปเช่น TCP/IP โดย Client จะติดต่อกับพารามิเตอร์หรือ Tag ภายใน Server ที่บริการข้อมูลด้วยรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามผู้ผลิต เช่นมีการส่งค่าจาก Server เมื่อค่าของ I/O ของ PLC มีการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น
การสื่อสารกับอุปกรณ์นั้น Server จะทำการตรวจสอบค่าจากอุปกรณ์ตามช่วงเวลาที่ผู้ใช้งานกำหนดไว้ (Defined polling rate) โดยอาจจะต่างกันไปตามพารามิเตอร์ประเภทต่าง ๆ โดยตัว Controller จะ ส่งค่าพารามิเตอร์ตามที่ถูกร้องขอให้กับ Data Server พร้อมค่าเวลาขณะนั้น (Time Stamp) การสื่อสารกับอุปกรณ์ของ Data Server นั้นอาจเป็นการสื่อสารแบบ Modbus, Profibus, CAN bus เป็นต้น ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการสื่อสารของอุปกรณ์นั้น ๆ ว่าเป็นแบบใด ในปัจจุบันมีการสร้าง OPC Server ที่สนับสนุนการติดต่อด้วยมาตรฐานต่างๆเพิ่มขึ้นมากมายจนครอบคลุมอุปกรณ์ทุก ประเภท และมีการพัฒนาให้ทั่วถึงไปยังอุปกรณ์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
โครงสร้างอินเทอร์เฟส (Interface)
การติดต่อระหว่าง Data Server กับอุปกรณ์หรือระหว่าง Data Server และ Data Server และกับ Client นั้น มีการผลิตเป็น Driver ออกมามากมายตามเทคนิคเฉพาะของแต่ละผู้ผลิต ต่อมาจึงมีการกำหนดมาตรฐานของอินเทอร์เฟสขึ้นมาเป็น OPC (OLE for Process Control) ซึ่งมีความรวดเร็วในการสื่อสารและบริการข้อมูลโดยมีการจัดตั้ง OPC Foundation ขึ้นเป็นองค์กรณ์หลักในการกำหนดมาตรฐานและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่สมาชิก OPC จึงเป็นมาตรฐานกลางที่เปิดกว้างมากที่สุด
การติดต่อกับฐานข้อมูลภายนอกของ SCADA Software นั้น มีการสร้างให้สามารถติดต่อได้ผ่าน ODBC (Open Data Base Connectivity), OLEDB (Linking and Embedding Data Base), DDE (Dynamic Data Exchange) เป็นต้น เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือทำการเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลรูปแบบ ต่าง ๆ ในปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถติดต่อกับโปรแกรม ERP ต่าง ๆ เช่น SAP เป็นต้นได้ด้วย
โครงสร้างความสามารถในการขยายระบบ (Scalability)
Scalability คือความสามารถในการรองรับและต่อขยายระบบ SCADA กับส่วนต่าง ๆ เช่น I/O ของอุปกรณ์ Controller และจำนนเครื่อง SCADA Client ที่เพิ่มขึ้น หรือการต่อพ่วงกับระบบ SCADA ของยี่ห้ออื่น ๆ เป็นต้น ถ้าหาก Data Server เป็นแบบ Driver ที่สร้างด้วยเทคโนโลยีเฉพาะในการติดต่อกับอุปกรณ์ ก็เป็นเรื่องลำบากในการต่อขยาย เพราะ Driver บางประเภทสามารถติดต่อได้เฉพาะ SCADA Software บางยี่ห้อเท่านั้น ปัญหานี้เป็นที่วิพากวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันได้หันมาใช้มาตรฐานกลางคือ OPC เพื่อแก้ไขปัญหานี้
โครงสร้างการสำรองระบบ (Redundancy)
SCADA Software ส่วนใหญ่มีความสามารถในการทำสำรองระบบของ Data Server โดยที่เมื่อ Data Server เกิดความขัดข้องก็จะสั่งงานให้ Data Server อีกตัวหนึ่งทำงานแทนที่ โดยจะมีการกำหนดคอนฟิกูเรชั่นไว้ที่ Client ว่าจะให้เลือกติดต่อกับ Data Server ตัวไหนเมื่อเกิดความขัดข้องเกิดขึ้น
ในบางครั้งโมดูลที่ทำหน้าที่จัดการด้าน Redundancy นี้อาจจะทำหน้าที่อีกประการหนึ่งคือเป็นจุดพักข้อมูลที่รับมาจาก Data Server เพื่อนำไปส่งให้กับ Client ต่าง ๆ เพราะในกรณีที่มี Client จำนวนมากติดต่ออยู่กับ Data Server ตัวเดียวนั้นอาจมีความล่าช้าในการบริการข้อมูลของ Data Server เพราะต้องให้บริการข้อมูล Client ให้ครบจำนวนก่อนที่จะไปรับข้อมูลใหม่จากอุปกรณ์มาได้ ดังนั้นโมดูลที่ทำหน้าที่ Redundant จึงทำหน้าที่เป็นจุดรับข้อมูลแล้วช่วยส่งต่อให้ Client ต่างๆ อีกทอดหนึ่ง Data Server จะได้ทำหน้าที่บริการข้อมูลให้แก่โหนดเพียงจุดเดียว จึงมีความรวดเร็วในการบริการข้อมูล
การสื่อสารระหว่าง Client-Server จะสื่อสารผ่านโปรโตคอลโดยทั่วไปเช่น TCP/IP โดย Client จะติดต่อกับพารามิเตอร์หรือ Tag ภายใน Server ที่บริการข้อมูลด้วยรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามผู้ผลิต เช่นมีการส่งค่าจาก Server เมื่อค่าของ I/O ของ PLC มีการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น
การสื่อสารกับอุปกรณ์นั้น Server จะทำการตรวจสอบค่าจากอุปกรณ์ตามช่วงเวลาที่ผู้ใช้งานกำหนดไว้ (Defined polling rate) โดยอาจจะต่างกันไปตามพารามิเตอร์ประเภทต่าง ๆ โดยตัว Controller จะ ส่งค่าพารามิเตอร์ตามที่ถูกร้องขอให้กับ Data Server พร้อมค่าเวลาขณะนั้น (Time Stamp) การสื่อสารกับอุปกรณ์ของ Data Server นั้นอาจเป็นการสื่อสารแบบ Modbus, Profibus, CAN bus เป็นต้น ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการสื่อสารของอุปกรณ์นั้น ๆ ว่าเป็นแบบใด ในปัจจุบันมีการสร้าง OPC Server ที่สนับสนุนการติดต่อด้วยมาตรฐานต่างๆเพิ่มขึ้นมากมายจนครอบคลุมอุปกรณ์ทุก ประเภท และมีการพัฒนาให้ทั่วถึงไปยังอุปกรณ์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
โครงสร้างอินเทอร์เฟส (Interface)
การติดต่อระหว่าง Data Server กับอุปกรณ์หรือระหว่าง Data Server และ Data Server และกับ Client นั้น มีการผลิตเป็น Driver ออกมามากมายตามเทคนิคเฉพาะของแต่ละผู้ผลิต ต่อมาจึงมีการกำหนดมาตรฐานของอินเทอร์เฟสขึ้นมาเป็น OPC (OLE for Process Control) ซึ่งมีความรวดเร็วในการสื่อสารและบริการข้อมูลโดยมีการจัดตั้ง OPC Foundation ขึ้นเป็นองค์กรณ์หลักในการกำหนดมาตรฐานและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่สมาชิก OPC จึงเป็นมาตรฐานกลางที่เปิดกว้างมากที่สุด
การติดต่อกับฐานข้อมูลภายนอกของ SCADA Software นั้น มีการสร้างให้สามารถติดต่อได้ผ่าน ODBC (Open Data Base Connectivity), OLEDB (Linking and Embedding Data Base), DDE (Dynamic Data Exchange) เป็นต้น เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือทำการเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลรูปแบบ ต่าง ๆ ในปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถติดต่อกับโปรแกรม ERP ต่าง ๆ เช่น SAP เป็นต้นได้ด้วย
โครงสร้างความสามารถในการขยายระบบ (Scalability)
Scalability คือความสามารถในการรองรับและต่อขยายระบบ SCADA กับส่วนต่าง ๆ เช่น I/O ของอุปกรณ์ Controller และจำนนเครื่อง SCADA Client ที่เพิ่มขึ้น หรือการต่อพ่วงกับระบบ SCADA ของยี่ห้ออื่น ๆ เป็นต้น ถ้าหาก Data Server เป็นแบบ Driver ที่สร้างด้วยเทคโนโลยีเฉพาะในการติดต่อกับอุปกรณ์ ก็เป็นเรื่องลำบากในการต่อขยาย เพราะ Driver บางประเภทสามารถติดต่อได้เฉพาะ SCADA Software บางยี่ห้อเท่านั้น ปัญหานี้เป็นที่วิพากวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันได้หันมาใช้มาตรฐานกลางคือ OPC เพื่อแก้ไขปัญหานี้
โครงสร้างการสำรองระบบ (Redundancy)
SCADA Software ส่วนใหญ่มีความสามารถในการทำสำรองระบบของ Data Server โดยที่เมื่อ Data Server เกิดความขัดข้องก็จะสั่งงานให้ Data Server อีกตัวหนึ่งทำงานแทนที่ โดยจะมีการกำหนดคอนฟิกูเรชั่นไว้ที่ Client ว่าจะให้เลือกติดต่อกับ Data Server ตัวไหนเมื่อเกิดความขัดข้องเกิดขึ้น
ในบางครั้งโมดูลที่ทำหน้าที่จัดการด้าน Redundancy นี้อาจจะทำหน้าที่อีกประการหนึ่งคือเป็นจุดพักข้อมูลที่รับมาจาก Data Server เพื่อนำไปส่งให้กับ Client ต่าง ๆ เพราะในกรณีที่มี Client จำนวนมากติดต่ออยู่กับ Data Server ตัวเดียวนั้นอาจมีความล่าช้าในการบริการข้อมูลของ Data Server เพราะต้องให้บริการข้อมูล Client ให้ครบจำนวนก่อนที่จะไปรับข้อมูลใหม่จากอุปกรณ์มาได้ ดังนั้นโมดูลที่ทำหน้าที่ Redundant จึงทำหน้าที่เป็นจุดรับข้อมูลแล้วช่วยส่งต่อให้ Client ต่างๆ อีกทอดหนึ่ง Data Server จะได้ทำหน้าที่บริการข้อมูลให้แก่โหนดเพียงจุดเดียว จึงมีความรวดเร็วในการบริการข้อมูล
หน้าที่การทำงาน (Functionality)
- การเข้าถึงพารามิเตอร์ของอุปกรณ์ หมายถึงความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มของพารามิเตอร์ในอุปกรณ์เช่น I/O ของ PLC เป็นต้น ความสามารถของ Data Server ในการกำหนดว่าพารามิเตอร์ใด อ่านได้อย่างเดียว เขียนได้อย่างเดียว หรือทั้งอ่านทั้งเขียน เป็นต้น
- ระบบแสดงผลแบบ MMI (Man Machine Interface) คือความสามารถในการแสดงผลการทำงานของอุปกรณ์ในรูปแบบ กราฟิก ข้อความ สัญลักษณ์ แผนภาพ เป็นต้น โดยสามารถเชื่อมโยงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของกราฟิกเหล่านี้กับพารามิเตอร์จาก Data Serverได้ ความสามารถในการสั่งงานผ่านระบบกราฟิกเช่น การปิด/เปิด สวิทซ์บนจอมอนิเตอร์ส่งผลไปยัง I/O ของ PLC เป็นต้น
ความสามารถในการจัดการกราฟิกเช่น การย่อ ขยาย การกำหนดการเคลื่อนไหวแบบต่าง ๆ เช่น การหมุน การเคลื่อนที่แบบซิกแซกตามสัญญาณของ Data Server การแสดงผลสัญญาณในรูปแบบมิเตอร์และเกจวัดแบบต่าง ๆ การนำเข้ากราฟิกประเภทต่างๆ การจัดแบ่งเลเยอร์ เป็นต้น เหล่านี้เป็นข้อเปรียบเทียบความสามารถของ SCADA Software ทั้งสิ้น
ระบบแสดงกราฟสัญญาณแบบต่อเนื่อง (Trending)
Trending เป็นความสามารถในการ พล็อตกราฟต่อเนื่องกันไปบนจอภาพเพื่อแสดงค่าสัญญาณจาก Data Server โดยอาจจะสามารถพล็อตสัญญาณได้หลายสัญญาณเช่น 8 – 24 สัญญาณ พร้อมกันในหน้าต่างเดียว เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบสัญญาณที่พล็อตได้ และไม่จำกัดว่าจะสร้างหน้าต่างพล็อตจำนวนเท่าใด
Trending อาจมีความสามารถในการ ซูมสัญญาณที่พล็อต และหยุดการพล็อตเพื่อเลื่อนดูค่าที่พล็อตในแต่ละช่วงเวลาได้ด้วยตัวของผู้ ใช้งานเอง นอกจากนั้นการพล็อตอาจสามารถเลือกได้ว่าจะให้เป็นการพล็อตแบบใดเช่น Time plot, Logarithmic plot, Strip Chart, Bar Chart, Circular, X-Y plot เป็นต้น นอกจากนั้นบางผู้ผลิตยังสามารถนำค่า Historian หรือข้อมูลสัญญาณที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลออกมาพล็อต ได้อีกด้วย
Trending อาจมีความสามารถในการ ซูมสัญญาณที่พล็อต และหยุดการพล็อตเพื่อเลื่อนดูค่าที่พล็อตในแต่ละช่วงเวลาได้ด้วยตัวของผู้ ใช้งานเอง นอกจากนั้นการพล็อตอาจสามารถเลือกได้ว่าจะให้เป็นการพล็อตแบบใดเช่น Time plot, Logarithmic plot, Strip Chart, Bar Chart, Circular, X-Y plot เป็นต้น นอกจากนั้นบางผู้ผลิตยังสามารถนำค่า Historian หรือข้อมูลสัญญาณที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลออกมาพล็อต ได้อีกด้วย
โดย Trending Module นี้อาจเป็นแบบ ActiveX Control คือสามารถนำไปใช้งานในแอปลิเคชั่นอื่นที่สนับสนุนการนำเข้า ActiveX ได้
ระบบแจ้งเตือน (Alarm)
SCADA Software ส่วนใหญ่มีระบบแจ้งเตือนโดย Alarm Display จะรับสัญญาณมาจาก Alarm DB ในฝั่ง SCADA Server โดย Alarm DB สามารถที่จะทำการกำหนดคอนฟิกูเรชั่นว่าจะนำสัญญาณตัวใดมาเป็นตัวพารามิเตอร์ ในการแจ้งเตือนบ้าง และมีการแบ่งระดับของ Priority, Limit อย่างไร เป็นต้น
ระบบแจ้งเตือนยังสามารถที่จะเก็บข้อมูลการแจ้งเตือนไว้ในฐานข้อมูลประเภท ต่าง ๆ ได้เช่น MS SQL Server, MS Access, Oracle, MS Excel เป็นต้น และบางยี่ห้อสามารถแสดงออกมาเป็นรายงานในรูปแบบตารางหรือ แผนภูมิได้อีกด้วย
การทำงานแบบ Automation
SCADA Software ส่วนใหญ่มีระบบแจ้งเตือนโดย Alarm Display จะรับสัญญาณมาจาก Alarm DB ในฝั่ง SCADA Server โดย Alarm DB สามารถที่จะทำการกำหนดคอนฟิกูเรชั่นว่าจะนำสัญญาณตัวใดมาเป็นตัวพารามิเตอร์ ในการแจ้งเตือนบ้าง และมีการแบ่งระดับของ Priority, Limit อย่างไร เป็นต้น
ระบบแจ้งเตือนยังสามารถที่จะเก็บข้อมูลการแจ้งเตือนไว้ในฐานข้อมูลประเภท ต่าง ๆ ได้เช่น MS SQL Server, MS Access, Oracle, MS Excel เป็นต้น และบางยี่ห้อสามารถแสดงออกมาเป็นรายงานในรูปแบบตารางหรือ แผนภูมิได้อีกด้วย
การทำงานแบบ Automation
เป็นความสามารถที่ SCADA ทำหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่กำหนด เช่น ส่งอีเมล์ แสดงข้อความแบบ Instance Messageบนหน้าจอ เปิดไปยังหน้าจออื่น ๆ เก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล เปิดโปรแกรม หรือรันคำสั่งสคริปต์ เป็นต้น ตามสัญญาณที่ได้รับจาก Data Server และข้อกำหนดที่สร้างขึ้น
การสร้างและพัฒนา (Application Development)
- การกำหนดคอนฟิกูเรชั่น
การกำหนดคอนฟิกูเรชั่น ขั้นแรกต้องมีการกำหนดว่าจะติดต่อกับพารามิเตอร์หรือ Tag ใดบ้างจาก Data Server ดังนั้นจะต้องทำการ Define หรือสร้าง Tag ที่ Data Server ก่อนว่า Tag แต่ละตัวหมายถึง Address ที่เท่าใดของอุปกรณ์ (PLC, DCS, RTU, Controller ต่างๆ) โดยทั่วไปสามารถทำการนำเข้าคอนฟิกูเรชั่นไฟล์ที่สร้างไว้ก่อนเข้ามาได้ และสามารถ Export ไปยัง Data Server อื่น ๆ ได้ จากนั้นโปรแกรมย่อยอื่น ๆ ของ SCADA Software ฝั่งไคลเอนท์ จึงทำคอนฟิกูเรชั่นตามหน้าที่การทำงานของตนเอง เช่น โมดูลที่มีหน้าที่แสดงผลกราฟิกก็ต้องกำหนดว่ากราฟิกนั้น ๆ จะเชื่อมโยงกับ Tag ใดจาก Data Server ส่วนโมดูลที่ทำหน้าที่แจ้งเตือนก็ต้องทำคอนฟิกูเรชั่นว่าจะนำ Tag ใด มาเป็นสัญญาณแจ้งเตือน และกำหนดระดับสัญญาณ Limit เป็นต้น
- เครื่องมือในการพัฒนา (Development Tool)
เครื่องมือในการสร้างและพัฒนาระบบ SCADA โดยทั่วไปจะประกอบด้วย
- เครื่องมือในการสร้างระบบกราฟิก ที่ประกอบด้วยเครื่องมือวาดภาพ เครื่องมือกำหนดเอ็ฟเฟ็คพิเศษต่าง ๆ ไลบรารี่ของกราฟิกสำเร็จรูปในอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ
- เครื่องมือในการสร้าง Trending
- เครื่องมือในการสร้างระบบAlarm
- เครื่องมือในการกำหนดการติดต่อกับฐานข้อมูลเพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของ Trending และ Alarm ลงไว้ในฐานข้อมูล
- เครื่องมือในการช่วยสร้าง Script เช่น Java script, VB Script
- เครื่องมือจัดการด้านความปลอดภัย การแบ่งระดับ User และขอบเขตการใช้งานของ User
- เครื่องมือในการสร้าง Web application เพื่อให้สามารถควบคุมและตรวจสอบระบบควบคุมผ่าน Web browser ได้
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของ SCADA และ SCADA Software ส่วนใหญ่ ทั้งนี้คุณผู้อ่านก็คงจะพอเห็นภาพว่า SCADA นั้นสามารถเป็นศูนย์กลางของระบบควบคุมทั้งหมดขององค์กร และมีส่วนช่วยในการตรวจสอบการทำงานของระบบให้เป็นไปตามปกติได้อย่างมี ประสิทธิภาพและทั่วถึง ภายในเวลาอันรวดเร็ว มีส่วนช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงานจากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับจากระบบ SCADA นอกจากนี้เรายังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้จาก SCADA เข้ากับข้อมูลทางธุรกิจอื่น ๆ เพื่อประมวลผลร่วมกัน เช่น ข้อมูลจำนวนของเสียเป็นกิโลกรัมที่ตรวจสอบได้จาก SCADA ถูกนำมาคำนวนร่วมกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แบบ Real time เพื่อสรุปเป็นรายงานค่าใช้จ่ายประจำวันเป็นต้นได้อย่างรวดเร็ว
ขอขอบคุณ ***
EDA Instrument & System (www.EDA.co.th)ที่ร่วมส่งบทความเผยแพร่ความรู้สู่สังคมอุตสาหกรรมไทย
- เครื่องมือในการสร้างระบบกราฟิก ที่ประกอบด้วยเครื่องมือวาดภาพ เครื่องมือกำหนดเอ็ฟเฟ็คพิเศษต่าง ๆ ไลบรารี่ของกราฟิกสำเร็จรูปในอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ
- เครื่องมือในการสร้าง Trending
- เครื่องมือในการสร้างระบบAlarm
- เครื่องมือในการกำหนดการติดต่อกับฐานข้อมูลเพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของ Trending และ Alarm ลงไว้ในฐานข้อมูล
- เครื่องมือในการช่วยสร้าง Script เช่น Java script, VB Script
- เครื่องมือจัดการด้านความปลอดภัย การแบ่งระดับ User และขอบเขตการใช้งานของ User
- เครื่องมือในการสร้าง Web application เพื่อให้สามารถควบคุมและตรวจสอบระบบควบคุมผ่าน Web browser ได้
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของ SCADA และ SCADA Software ส่วนใหญ่ ทั้งนี้คุณผู้อ่านก็คงจะพอเห็นภาพว่า SCADA นั้นสามารถเป็นศูนย์กลางของระบบควบคุมทั้งหมดขององค์กร และมีส่วนช่วยในการตรวจสอบการทำงานของระบบให้เป็นไปตามปกติได้อย่างมี ประสิทธิภาพและทั่วถึง ภายในเวลาอันรวดเร็ว มีส่วนช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงานจากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับจากระบบ SCADA นอกจากนี้เรายังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้จาก SCADA เข้ากับข้อมูลทางธุรกิจอื่น ๆ เพื่อประมวลผลร่วมกัน เช่น ข้อมูลจำนวนของเสียเป็นกิโลกรัมที่ตรวจสอบได้จาก SCADA ถูกนำมาคำนวนร่วมกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แบบ Real time เพื่อสรุปเป็นรายงานค่าใช้จ่ายประจำวันเป็นต้นได้อย่างรวดเร็ว
ขอขอบคุณ ***
EDA Instrument & System (www.EDA.co.th)ที่ร่วมส่งบทความเผยแพร่ความรู้สู่สังคมอุตสาหกรรมไทย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)